ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค กศน.ตำบลห้วยขวาง


 ความหมาย  การรวมตัวของ อสคบ. (อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค) กศน. ตำบล ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ 
แก่สังคมในการผลักดันประชาชนให้รักษาสิทธิผู้บริโภคและเป็นผู้ฉลาดบริโภค ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบอีกต่อไป 

หมวดที่ ๒ 
ข้อ ๓. วัตถุประสงค์ของชมรม 
๓.๑ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้แก่สมาชิกชมรม และศึกษาใน กศน. ตำบลห้วยขวาง  ทุกคนและชุมชนได้ 
ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ 
๓.๒ เพื่อเผยแพร่ ข่าวสาร ความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมการบริโภคศึกษาใน กศน. ตำบลห้วยขวาง 
กว้างขวางยิ่งขึ้น 
๓.๓ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและงดเว้นการใช้สินค้าและ 
บริการที่ไม่เหมาะสม 
๓.๔ เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดความรู้ และสร้างความตระหนักถึงบทบาท สิทธิ และหน้าที่ของ 
ตนเอง และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค 
๓.๕ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการรวมพลังผู้บริโภค 
๓.๖ เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่นักศึกษาในสถานศึกษา 
๓.๗ เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมร่วมกัน 
๓.๘ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาและครูให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 

หมวดที่ ๓ 
การเข้าเป็นสมาชิก ( โหลดใบสมัคร )
ข้อ ๔. ผู้ประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกของชมรมให้ยื่นใบสมัครต่อเลขานุการของชมรมตามฟอร์มซึ่งขอรับได้ที่ชมรม 

หมวดที่ ๔ 
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก 
ข้อ ๕. สมาชิกมีสิทธิ ดังนี้ 
๕.๑ มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับชมรมต่อกรรมการชมรม 
๕.๒ มีสิทธิเข้าร่วมการประชุมของชมรมตามที่คณะกรรมการของชมรมกำหนด 
๕.๓ มีสิทธิออกสียงเลือกตั้งกรรมการชมรมในกรณีที่มีการเลือกตั้ง 
๕.๔ มีสิทธิได้รับสิ่งต่างๆ ที่ชมรมจัดให้ 
ข้อ ๖. หน้าที่ของสมาชิก 
๖.๑ ปฏิบัติตามระเบียบของชมรม 
๖.๒ เข้าร่วมชมรมกิจกรรมต่างๆ ของชมรม 
ข้อ ๗. การพ้นการเป็นสมาชิก 
๗.๑ มีความประพฤติเสื่อมเสียชื่อเสียง ผิดศีลธรรม อันเป็นผลให้กรรมการเกินกว่า ๓/๔ ของจำนวน 
กรรมการทั้งหมดที่แต่งตั้ง ลงมติให้พ้นสภาพสมาชิกชมรม 
๗.๒ เสียชีวิต 
๗.๓ ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร ยื่นต่อเลขานุการให้ประธานชมรมอนุมัติ 

หมวดที่ ๕ 
การบริหารงาน 
ข้อ ๘. การบริหารงานของชมรมให้มีคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่งได้ไม่เกิน ๗ คน และคณะกรรมการ 
จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับดูแลของครูที่ปรึกษาชมรม 
                       ๘.๑ นายวัฒนา  ลิมปิอนันต์ชัย            ประธานชมรม 
                       ๘.๒ นางอรพรรณ  เจริญผล                รองประธานชมรม 
                       ๘.๓ นางสาวศศิภา  ฉิ่งทองคำ             เลขานุการ 
                       ๘.๔ นางละมัย  รื่นชล                          นายทะเบียน 
                       ๘.๕ นางมะณี  ทวีถาวรวงค์                 เหรัญญิก 
                       ๘.๖ นางสาวชุติกาญจน์  เนียมแก้ว    ประชาสัมพันธ์ 
                       ๘.๗ นายยุทธพล  ปั้นนุ่ม                     กรรมการ 
ข้อ ๙. การเลือกตั้งคณะกรรมการชมรม 
๙.๑ ประธานและรองประธานชมรมให้เลือกโดยความเห็นชอบของครูที่ปรึกษาชมรม 
๙.๒ คณะกรรมการคนอื่นให้เลือกโดยประธาน และรองประธานกรรมการ 
ข้อ ๑๐. กรรมการมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้ 
๑๐.๑ ประธานมีอำนาจและหน้าที่บริหารกิจกรรมของชมรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และระเบียบของ 
ชมรมและเป็นประธานในที่ประชุม 
๑๐.๒ รองประธานชมรมมีอำนาจหน้าที่ตามที่ประธานกำหนดให้และช่วยเหลือประธานในกิจกรรมต่างๆ 
ทั่วไป รักษาการแทนประธานในเมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติงานได้ 
๑๐.๓ เลขานุการมีหน้าที่จดบันทึกการประชุม ทำหนังสือให้ประธานเป็นผู้นัดประชุม กำหนดเวลา 
สถานที่ที่จะประชุม แจ้งให้สมาชิกทราบ ประสานงานกับกรรมการทุกฝ่าย 
๑๐.๔ นายทะเบียนมีหน้าที่จัดทำ และรักษาทะเบียนสมาชิกชมรม รักษาเอกสารทุกชนิดตลอดจน 
เอกสารการเงิน 
๑๐.๕ เหรัญญิกมีหน้าที่เก็บรักษาเงินของชมรม จ่ายเงินตามคำสั่งของประธาน แต่ถ้าเงินตั้งแต่ 
๕๐๐ บาท เป็นต้นไป จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารสถานศึกษาก่อน 
๑๐.๖ ประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ติดต่อประสานงาน แจ้งข่าวสารและข่าวต่างๆ ให้ผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องได้ 
ทราบโดยทั่วกัน 
ข้อ ๑๑. การประชุมคณะกรรมการบริหารให้มีอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง โดยให้ประธานเป็นผู้กำหนด วัน 
เวลา และสถานที่ประชุม ทุกครั้งที่มีการประชุมจะต้องมีกรรมการประชุม ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของ 
กรรมการทั้งหมด การพิจารณาวินิจฉัยให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นมติเด็ดขาด ถ้าคะแนนเท่ากันให้ 
ประธานชี้ขาด 
ข้อ ๑๒. ในการประชุมให้ประธานทำหน้าที่เป็นประธาน เมื่อประธานไม่อยู่ให้รองประธานทำหน้าที่ประธาน 
ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม